Devdit
 

วิธีเขียนโปรแกรมคํานวณภาษีเงินได้ด้วย Java

2.9K

บทความนี้สอนวิธีเขียนโปรแกรมคํานวณภาษีเงินได้ด้วย Java โดยเป็นภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดาในประเทศไทย เริ่มจากแนะนำสูตรคำนวณหาเงินได้สุทธิ และภาษีที่ต้องจ่าย ตารางอัตราภาษีแบบขั้นบันได และสุดท้ายแนะนำวิธีเขียนโปรแกรมคํานวณภาษี Java พร้อมแสดงผลลัพธ์ และคำอธิบายโค้ดโปรแกรม

 

ตัวอย่าง สูตรคำนวณหาเงินได้สุทธิ และภาษีที่ต้องจ่าย

1. เงินได้สุทธิ หาได้จากค่าเงินได้, ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน

เงินได้สุทธิ = เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
net_income = income - expenses - deductions

 

2. ภาษีที่ต้องจ่าย หาได้จากค่าเงินได้สุทธิ (สูตรด้านบน) และอัตราภาษี (ตามตารางด้านล่าง)

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
tax = net_income x tax

 

ตัวอย่าง ตารางวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบคิดอัตราภาษีแบบขั้นบันได

เงินได้สุทธิ (บาท)

อัตราภาษี

1 - 150,000

ได้รับยกเว้น

150,001 - 300,000

5%

300,001 - 500,000

10%

500,001 - 750,000

15%

750,001 - 1,000,000

20%

1,000,0001 - 2,000,000

25%

2,000,001 - 5,000,000

30%

5,000,001 บาทขึ้นไป

35%

 

ตัวอย่าง วิธีเขียนโปรแกรมคํานวณภาษีเงินได้ด้วย Java

import java.util.Scanner;

public class Main {
    public static void main(String[] args) {
        Scanner scanner = new Scanner(System.in);

        double income = 0.0;
        System.out.print("Enter your net income: ");
        income = scanner.nextDouble();
        
        double expenses = 0.0;
        System.out.print("Enter your expenses: ");
        expenses = scanner.nextDouble();

        double deductions = 0.0;
        System.out.print("Enter your deductions: ");
        deductions = scanner.nextDouble();

        double net_income = income - expenses - deductions;

        double tax = 0.0;
        if (net_income <= 150000) {
            tax = 0;
        } else if (net_income <= 300000) {
            tax = net_income * 0.05;
        } else if (net_income <= 500000) {
            tax = net_income * 0.1;
        } else if (net_income <= 750000) {
            tax = net_income * 0.15;
        } else if (net_income <= 1000000) {
            tax = net_income * 0.20;
        } else if (net_income <= 2000000) {
            tax = net_income * 0.25;
        } else if (net_income <= 5000000) {
            tax = net_income * 0.30;
        } else {
            tax = net_income * 0.35;
        }

        System.out.println("Your net income is: " + net_income + " THB");
        System.out.println("Your tax is: " + tax + " THB");
    }
}
ตัวอย่างที่ 1.
Enter your net income: 100000
Enter your expenses: 500
Enter your deductions: 500
Your net income is: 99,000.0 THB
Your tax is: 0.0 THB
ตัวอย่างที่ 2.
Enter your net income: 1000000
Enter your expenses: 100000
Enter your deductions: 0
Your net income is: 900,000.0 THB
Your tax is: 180,000.0 THB

จากตัวอย่างวิธีเขียนโปรแกรมคํานวณภาษีเงินได้ด้วย Java และผลลัพธ์สามารถอธิบายได้ดังนี้

1. มีการรับค่าจากผู้ใช้ง่ายได้แก่ เงินได้ (income), ค่าใช้จ่าย (expenses) และค่าลดหย่อน (deductions)

2. หาค่าเงินได้สุทธิ (net_income) เท่ากับ income - expenses - deductions

3. นำ net_income ไปเข้าเงื่อนไข if เพื่อหาภาษีเงินได้ที่ต้องจ่าย คือ net_income x tax

4. กรณี net_income เท่ากับ 99,000 เข้าเงื่อนไข if (net_income <= 150000) ค่า tax เท่ากับ 0

5. กรณี net_income เท่ากับ 900,000 เข้าเงื่อนไข if (net_income <= 1000000) ค่า tax เท่ากับ 180,000

6. แสดงค่า net_income และ tax ออกสู่หน้าจอ

 

สรุป จากที่กล่าวมาทั้งหมดคือวิธีเขียนโปรแกรมคํานวณภาษีเงินได้ด้วย Java เบื้องต้น ซึ่งเริ่มจากการเข้าใจสูตรวิธีคำนวณภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา จากนั้นรับทราบข้อมูลตารางอัตราภาษีแบบขั้นบันได และสุดท้ายทดลองเขียนโปรแกรมคํานวณภาษีเงินได้ด้วย Java พร้อมรันเพื่อดูผลลัพธ์ และคำอธิบายการทำงานของโปรแกรม

แก้ไข 1 ปีที่แล้ว
ชอบ
ลิ้งก์
แชร์
Devdit มีช่อง YouTube แล้ว
เราสร้างวิดีโอเกี่ยวกับเทคโนโลยี ทำตามง่ายๆ